เครื่องหมายตราประจำจังหวัดลำปาง มีรูปไก่ขาวเป็นสัญลักษณ์สำคัญยืนอยู่ในซุ้มมณฑปพระธาตุลำปางหลวง ต่อมาทางจังหวัดลำปางได้เสนอกระทรวงมหาดไทยขอให้เครื่องหมายธงดวงตราประจำจังหวัดลำปาง ซึ่งมีรูปไก่เผือก เป็นสัญลักษณ์สำคัญนั้น ได้กำหนดสีประจำจังหวัดลำปางด้วย
กระทรวงมหาดไทยมีหนังสือที่ มท.๐๘๐๔/๘๘๗ ลงวันที่ ๒๒ มกราคม ๒๕๑๔ ให้ธงประจำจังหวัดลำปาง เป็นธงสีเขียวมรกต สีเดียว กลางธงเป็นตราดวงรูปประจำจังหวัดลำปาง
ไก่เผือก ซึ่งถือเป็นสัญลักษณ์ของจังหวัดลำปาง มีมาแต่ตำนานเมือง กุกุตตนคร ตำนานเกี่ยวกับพระฤาษี ๕ องค์ ปางเมื่อยังอยู่ ณ ดอยยัสสกิตติบรรพต คือ ม่อนพระยาแจ้ปางเมื่อเมือง กุกุตตนครอุดมด้วยผีเสื้อยักษ์ชุกชุมกันในย่านเวียงดินพระฤาษี ๕ องค์ ได้ถวายภัตตาหารแต่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ณ ดอยยัสสกิตติ แต่เหตุด้วยวันนั้นทัศนวิสัยอืมครึม พระฤาษี ๕ องค์ ก็กริ่งเกร็งว่าแม้กาลเวลาล่วงเลยโภชนาการแล้ว องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าคงยังมิได้เสวยฉันพระกระยาหารนั้น เพราะท้องฟ้า มืดมัวที่จริงพระองค์เสวยขนฉันนั้นแล้ว พระอินทร์หยั่งรู้ถึงความวิปริตวิตกกังวลของพระฤาษี ๕ องค์ ก็ทรงเนรมิตไก่เผือกยืนขันเหนือดอย ยัสสกิตติ พระฤาษี ๕ องค์ ก็เข้าใจที่นั้นว่า พระองค์ทรงเสวยภัตตาหารที่ทูลเกล้าถวายนั่นแล้ว หลังจากสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จ กลับ ต่อมาพระยาวิรุฬและพระยาเวสสุวรรณ ก็นำต้นศรีมหาโพธิมาปลูก มีผีเสื้อ (พญายักษ์) สามพันตนแวดล้อมอารักษ์ขา ณ เวียงดินหรือ กุกุตตนคร สถานที่ปลูกต้นศรีมหาโพธิ ปัจจุบันคือที่ตั้งวัดศรีล้อม ตำบลเวียงเหนือ ถนนพระแก้ว หลังกองบังคับการตำรวจภูธร เขต ๖
เครื่องหมายไก่เผือกเมืองกุกุตตนคร กลายเป็นสัญลักษณ์สำคัญโดยปรากฏดวงตราเครื่องหมายไก่เผือก คู่กับดวงตราแผ่นดินใน ศาลากลางเมืองนครลำปาง แต่สมัยเริ่มเปลี่ยนระบบวิหารแบบเค้าสนามหลวง เป็นศาลาว่าการประจำนครขึ้น ในสมัยเริ่มสร้างศาลากลาง หลังแรก เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๒ นอกจากนี้ ยังมีดวงตราสัญลักษณ์ไก่เผือก ในยอดจั่วพระอุโบสถวัดบุญวาทย์สร้างเสร็จเฉลิมฉลองเมื่อวันที่ ๑๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๕๘ เป็นเครื่องหมายพระฤาษี ๕ องค์
นอกจากนี้ที่สะพานรัษฏาภิเศกสร้างเมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๔๖๐ ก็มีเครื่องหมายไก่เผือกเป็นสัญลักษณ์สำคัญ เครื่องหมายไก่เผือก นอกจากนี้ยังเป็นดวงตราประจำจังหวัดลำปางแล้ว ยังเป็นตราประจำของโรงเรียนบุญวาทย์วิทยาลัยและดวงตราประจำสำนักงานเทศบาล เมืองลำปาง
"ถ่านหินลือชา รถม้าลือลั่น เครื่องปั้นลือนาม
งามพระธาตุลือไกล ฝึกช้างใช้ให้ลือโลก "
สมัยโยนกเชียงแสนในราว พ.ศ.1208 - 1800 ลำปางตกอยู่ในอำนาจของ อาณาจักรหริภุญไชยถึง พ.ศ. 1824 พระยามังรายมีอำนาจอยู่ลุ่มแม่น้ำกก เขต ทิศตะวันออกขยายอิทธิพล ยกทัพล้ำเขตมาโจมตีเมืองหริภุญไชยด้านตะวันตกและเอาชนะ ได้ พระยาญีบา เจ้าเมืองหริภุญไชยจึงต้องหนีมาพึงพา พระยาเบิกเจ้าเมืองเขลางค์ผู้ เป็นลูกชายต่อมาพระยาเบิกยกทัพจะไป ตีเมืองหริภุญไชยคืน แต่ก็พ่ายแพ้ต่อขุนครามโอรสของพระยามังรายและเสียชีวิตในสนามรบ พระยาญีบาจึง อพยพผู้คนหนีออกจากเขลางค์นครไปอยู่เมืองอื่นเมื่อขุนครามเข้ายึดเขลางค์นครได้แล้วจึงแต่งตั้งขุนไชยเสนาเป็นผู้รั้งเมือง นับเป็นการเปลี่ยนวงศ์ของผู้ครองเมืองเขลางค์ มาเป็นสายของพระยามังรายแห่งอาณาจักรล้านนา ต่อมาสมัยกรุงศรีอยุธยา บางคราวลำปางก็อยู่ในเขตการปกครองของพม่า บางคราวก็อยู่ในอำนาจของล้านช้าง และบางคราวก็อยู่ในการปกครองของเชียงใหม่ ในระหว่าง พ.ศ. 2272-2290 บ้านเมืองในภาคเหนือตอนบน มิได้เป็นปกติสุขเกิดการจราจลทุกแห่ง เช่น เชียงแสน เชียงราย ลำพูน ลำปาง แพร่ น่าน และ เชียงใหม่ ต่างก็ตั้งตนเป็นอิสระไม่ขึ้นกับใครเชียงใหม่ก็มีเจ้าองค์คำ กษัตริย์ล้านช้างปกครอง และลำพูนก็มี ท้าวมหายศปกครอง ส่วนลำปางเจ้าลิ้นก่านปกครอง แต่ไม่มีอำนาจสิทธิ์ขาด แต่มีเจ้าเมือง 4 คน ต่างก็แก่งแย่งอำนาจกัน ทางเชียงใหม่จึงให้ท้าวมหายศเมืองลำพูนยกทัพมายึดเมืองลำปาง จึงเกิดวีรบุรุษขึ้นคือ หนาน ทิพย์ช้าง พรานป่าชาวบ้านปงยางคกแห่งนครลำปาง ในเวลานั้น เป็นปี พ.ศ.2275 พม่าที่ปกครองมีกองทัพอยู่ที่ลำพูน บรรดาผู้คนกลุ่มหนึ่งในลำปางซึ่งมีผู้นำกลุ่มเป็นพระภิกษุ ผู้ใหญ่บ้านออกมา บ้างก็อยูในผ้าเหลือง รวมกำลังคนรบกับพม่าซึ่งมีท้าวมหายศเป็นแม่ทัพ รุกตีฝ่าพม่าไปจนมุมในพระธาตุลำปางหลวง ที่มีบริเวณกว้างใหญ่มีกำแพงมั่นคง แข็งแรงท้าวมหายศจึงกุมกำลังตั้งทัพอยู่ในวัดลำปางหลวง ชาวบ้านและพระมหาเถระแห่งวัดพระแก้ว (พระแก้วชมพู) ได้ติดต่อกับหนานทิพย์ช้างนายพราน ที่รู้กันว่ามีความเก่งกล้าสามารถขนาดกำราบช้างได้ แสดงความกล้าหาญ เล็ดลอดเข้าไปในวัดพระธาตุลำปางหลวง ยิงท้าวมหายศตาย และนำผู้คนขับไล่พม่าออกไปจากนครลำปางได้ หนานทิพย์ช้างจึงกลายเป็นวีรบุรุษของชาวลำปางแต่นั้นมา ได้รับสถาปนาเป็นพระยาสุลวะลือไชยสงคราม มีฐานะเป็นเจ้าเมืองและได้เป็นต้นตระกูลเชื้อเจ็ดตน ครองเมืองเหนือตอนบน พระยาสุลวะลือไชยมีโอรสและ ธิดา 6 องค์ และในจำนวนนี้ มีเจ้าฟ้าชายแก้ว ซึ่งต่อมาเจ้าฟ้าชายแก้วมีโอรสธิดาอีก10 องค์ โดยมี โอรสอยู่ 7 องค์ ซึ่งเป็นต้นตระกูล ณ ลำปาง ณ ลำพูน ณ เชียงใหม่ สกุลเชื้อเจ็ดตนในพ.ศ.2330 ซึ่งอยู่ในสมัยเจ้ากาวิละและเจ้าคำโสมผู้ครองนครเขลางค์ พม่าได้เข้ามารุกรานทั้งสององค์ได้ร่วมกันตั้งปราการสู้ทัพพม่าที่เมืองนี้ และสาเหตุของสงครามนี้เองที่มีการย้ายเมืองเขลางค์เก่าฝั่งตะวันตกมายังนครลำปางฝั่งเมืองใหม่ปัจจุบัน ได้มีการสร้างวิหารวัดหลวงกลางเวียงก่อองค์เจดีย์สร้างพระพุทธรูปองค์ใหญ่สร้างพระอุโบสถในวัดหลวง คือ วัดบุญวาทย์วิหาร ในรัชกาลที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ได้มีพระราชดำริให้เปลี่ยนตำแหน่ง พระยา ในหัวเมืองฝ่ายเหนือให้ผู้ครองนครมีตำแหน่งเป็นเจ้า จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้เลื่อนอิสริยยศ พระน้อยญาณรังษี ซึ่งเป็นผู้ครองเมืองลำปางในขณะนั้นเป็นเจ้าวรญาณรังษี และมีเจ้าผู้ครองนครสืบสายต่อมาจนถึง พลโทเจ้าบุญวาทย์วงศ์มานิต เมื่อได้ถึงแก่พิราลัยใน ปี พ.ศ. 2468 แล้ว มิได้ทรงกรุณาให้มีเจ้าครองนครลำปาง แต่ได้ประกาศตั้งเป็นจังหวัดขึ้นอยู่กับมณฑลพายัพสมัยหนึ่ง ต่อมาในปี พ.ศ.2458 ได้แยกจากมณฑลพายัพไปขึ้นกับมณฑลมหาราษฎร์ ใน ปี พ.ศ. 2468 ได้ประกาศยกเลิกมณฑลมหาราษฎร์ ลำปางจึงกลับมาขึ้นกับมณฑลพายัพอีกครั้งหนึ่ง ต่อมาเมื่อประกาศยกเลิกมณฑลทั่วราชอาณาจักรแล้วลำปางจึงมีฐานะเป็นจังหวัดจนถึงปัจจุบันนี้
พระแก้วดอนเต้าสุชาดาราม
ตั้งอยู่ที่ ถนนสุชาดา ตำบลเวียงเหนือ เป็นวัดเก่าแก่และสวยงาม มีอายุนับพันปี เคยเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร (พระแก้วมรกต) ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 1979 เป็นเวลานานถึง 32 ป ีเหตุที่วัดนี้ได้ชื่อว่าวัดพระแก้วดอนเต้า มีตำนานกล่าวว่า พระมหาเถระแห่งวัดนี้ได้พบ แก้วมรกตในแตงโม (ภาษาเหนือเรียกว่า หมากเต้า) และนำมาแกะสลักเป็นพระพุทธรูป แต่ต่อมาได้อัญเชิญไปประดิษฐานที่วัดพระธาตุลำปางหลวง จนถึงปัจจุบัน ปูชนียสถานที่สำคัญในวัด พระแก้วดอนเต้า ได้แก่ องค์พระบรมธาตุของดอนเต้า พระเจดีย์องค์ใหญ่ ซึ่งบรรจุพระเกศาธาตุ ของพระพุทธเจ้า
วิหารหลวงที่ประดิษฐานพระพุทธไสยาสน์ที่มีอายุเก่าแก่พอ ๆ กับวัดนี้ นอกจากนี้ยังมีวิหารหลวง ที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัย วิหารพระเจ้าทองทิพย์สร้างศิลปะสมัยเชียงแสน มณฑปหรือพญาธาตุศิลปะแบบพม่า วิหารลายคำสุชาดารามฝีมือช่างเชียงแสน ภายในมีจิตรกรรม ฝาผนังโดยมีลวดลายทอง ประดับตามส่วนต่าง ๆ งดงาม เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปเชียงแสน และยังมีพิพิธภัณฑสถานแห่งล้านนา อันเป็นแหล่งรวบรวมศิลปวัตถุแบบล้านนาเช่น สัตตภัณฑ์ เครื่องถ้วย กระเบื้องพระพุทธรูป เป็นต้น
การเดินทาง ข้ามสะพานรัษฎาภิเษกแล้วเลี้ยวขวาไปตามถนนพระแก้วประมาณ 1 กิโลเมตร จะเห็นยอดพระธาตุเด่นอยู่บนเนิน
วัดพระเจดีย์ซาวหลัง
วัดพระเจดีย์ซาวหลัง ตั้งอยู่ที่ตำบลต้นธงชัย ห่างจากตัวเมือง 1.5 กิโลเมตร ตามถนนสาายลำปาง แจ้ห่ม คำว่า "ซาว" แปลว่า ยี่สิบ คำว่า "หลัง" แปลว่า องค์ ฉะนั้น วัดเจดีย์ซาวหลัง จึงแปล ได้ว่า วัดที่มีเจดีย์ 20 องค์ จากหลักฐานการขุดพบพระเครื่องสมัย หริภุญไชยที่องค์พระเจดีย์ ทำให้ สันนิษฐานได้ว่าวัดนี้ สร้างมานานกว่าพันปี
จุดเด่นของวัด
คือองค์พระธาตุซาวที่มีศิลปะล้านนาผสมศิลปะพม่าเชื่อกันว่าหากใครนับได้ครบ 20 องค์ ถือว่า เป็นคน มีบุญ ข้างหมู่พระเจดีย์มีวิหารเก่าแก่หลังเล็กประดิษฐานพระพุทธรูปสำริดปางสมาธิศิลปะ เชียงแสน ชาวบ้านเรียกว่า พระพุทธรูปทันใจ พระอุโบสถหลังใหญ่ซึ่งประดิษฐานพระประธาน เป็นพระพุทธรูป ปางมารวิชัยที่มีพุทธลักษณะงดงามบานประตูทั้งสามเป็นของโบราณ เขียนลวดลายรดน้ำละเอียด สวยงาม เสาซุ้มประตูหน้าต่างประดับลวดลายกระจกสีเป็นลักษณะ ศิลปะสมัยใหม่ และที่ศาลาการเปรียญ เรือนไม้ชั้นเดียว ด้านหลังพระอุโบสถเป็นพิพิธภัณฑ์สถาน เขลางค์นครแสดงโบราณวัตถุที่ชาวบ้านนำมาถวาย เมื่อปี พ.ศ.2526 ชาวบ้านได้ขุดพบ พระพุทธรูปทองคำบริสุทธิ์หนัก 100 บาทสลึง มามอบให้แก่ทางวัด ซึ่งพระพุทธรูปองค์นี้ชื่อว่า พระแสนแช่ทองคำ เป็นพระพุทธรูป ปางมารวิชัย ศิลปะสมัยล้านนา อายุราวพุทธศตวรรษที่ 21 ขนาดหน้าตักกว้าง 9 นิ้วครึ่ง สูง 15 นิ้ว เป็นพระพุทธรูป ทองคำองค์แรกที่ขึ้นทะเบียนเป็น โบราณวัตถุแห่งชาติ
สำนักปฏิบัติธรรมหลวงพ่อเกษม เขมโก
ตั้งอยู่ชานเมืองลำปาง ประมาณ 4 กิโลเมตร ตามถนนสายลำปาง-แจ้ห่ม ภายในบริเวณ มีรูปปั้นขนาดใหญ่ของหลวงพ่อเกษมเขมโก พระเกจิอาจารย์อันเป็นที่เคารพนับถือของบรรดา พุทธศาสนิกชนทั่วประเทศ ยืนเด่นอยู่ ด้านหน้า หลังูรูปปั้นมีมณฑปลักษณะเป็นอาคารทรงไทย ประยุกต์ มีรูปปั้นหุ่นขี้ผึ้งของหลวงพ่อเกษม และห้องด้านซ้ายเป็นที่ตั้งโลงแก้วกระจกใสบรรจุศพ
ถึงแม้ว่าหลวงพ่อเกษม เขมโก จะมรณภาพไปนานแล้ว แต่ก็ยังมีพุทธศาสนิกชนผู้เลื่อมใส ศรัทธายังคงเดินทางไปนมัสการอยู่เสมอ มิได้ขาด
ชมเมืองบนรถม้า
นับเป็นเวลาย้อนหลังไปช่วง 80 ปีที่แล้ว สมัยของเจ้าบุญวาทย์วงศ์มานิตซึ่งตรงกับสมัยรัชกาล ที่ 5 การคมนาคมขนส่งทางรถยนต์ยังพัฒนาไม่ถึงนครลำปาง รถม้าเป็นพาหนะชนิดเดียว ที่ได้รับความ นิยมในการเดินทางสูงสุดและสามารถใช้บรรทุกของหรือสินค้า
รถม้าคันแรกได้ถูกซื้อมาจากกรุงเทพขณะนั้นทางกรุงเทพฯ มีรถยนต์ใช้มากขึ้น บทบาทของรถม้าลากในกรุงเทพฯ จึงลดลงรถม้าจึงได้ถูกนำมาใช้ที่นครลำปาง และยังได้กระจายไปสู่เมืองหลักของภาคต่างๆ ได้แก่ นครราชสีมาของอีสาน นครศรีธรรมราชของภาคใต้ นครเชียงใหม่ เมืองเชียงราย เมืองแพร่ เมืองน่าน เมืองแม่ฮ่องสอน ของทางภาคเหนือแต่ด้วยเหตุใดไม่ปรากฏผู้ประกอบการรถม้าในเมืองดังกล่าวจึงเลิกกิจการไป คงเหลือแต่เฉพาะจังหวัดลำปางแห่งเดียว ที่ยังคงใช้รถม้าอยู่ตราบ จนกระทั่งวันนี้
ทุกวันนี้มีรถม้าเหลืออยู่ไว้เพื่อการบริการนักท่องเที่ยวทางจังหวัดได้จัดเส้นทางสำหรับรถม้า โดย เฉพาะเลาะเลียบแม่น้ำวังโดยสมาคมรถม้าลำปางกำหนดค่าโดยสารแน่นอนไว้ 3 อัตรา คือ รอบเมือง เล็ก 150 บาท (25-30 นาที) รอบเมืองกลาง 200-300 บาท (45 นาที-1 ชั่วโมง) รอบเมืองใหญ่ 500 บาท (1.30 - 2 ชั่วโมง) หรือเช่าชั่วโมงละ 300 บาท คิวจอดรถม้าอยู่ที่หน้า ศาลากลางหลังเก่า บริการระหว่างเวลา 05.00-20.00 น. ส่วนบริเวณหน้าโรงแรมทิพย์ช้างลำปาง โรงแรมเวียงลคอร และโรงแรมลำปางเวียงทอง บริการระหว่างเวลา 05.00-21.00 น.
เส้นทางรอบเมืองเล็ก
ขึ้นที่ศาลากลางเก่ารถจะเลี้ยวซ้ายตรงสามแยกเข้าถนนทิพย์ช้าง สองฟากถนนมีร้านค้า ที่เป็นตึก แถวเก่าๆ ให้ชมก่อนจะเลี้ยวซ้ายที่สามแยกการไฟฟ้าฯจะเห็นแม่น้ำวังไหลขนาน ไปกับถนนทาง ด้านขวาผ่านห้าแยกหอนาฬิกา ซึ่งเปรียบเสมือนจุดศูนย์กลางของเมือง นักท่องเที่ยว มักถ่ายภาพ คู่กับรถม้าเป็นที่ระลึกกันที่จุดนี้ จากนั้นรถม้าจะพาเข้าถนนบุญวาทย์ อันเป็นย่านใจกลางธุรกิจการค้า ตึกแถวสองฟากเป็นสิ่งก่อสร้างสมัยใหม่ และมาสิ้นสุดตรงจุดเดิม ใช้เวลา ประมาณ 25 - 40 นาที
เส้นทางรอบเมืองใหญ่
ขึ้นที่ศาลากลางเก่าเป็นเส้นทางเดียวกับเส้นทางรถม้ารอบเมืองเล็กไปจนถึง สามแยกการ ไฟฟ้าฯ แต่ไม่เลี้ยวซ้ายไปหอนาฬิกาจะตรงไปตามถนนวังขวาเลียบแม่น้ำวัง ผ่านบ้านไม้เก่า ชื่อบ้านบะเก่า ทางด้านซ้ายมือ ผ่านสวนธารณะเขลางค์นคร เลี้ยวซ้ายข้างสวนมาผ่านย่านตลาด อัศวิน ซึ่งเป็นแหล่ง บันเทิงยามค่ำคืนที่คึกคักบนถนนท่าคร่าวน้อยผ่านห้าแยกหอนาฬิกา เข้าถนน บุญวาทย์ และถ้าใช้เวลานาน จะไปที่หลวงพ่อเกษมและวัดเจดีย์ซาว สิ้นสุดทางที่จุดเดิมใช้เวลาประมาณ 1 - 2 ชั่วโมง
วัดศรีชุม
เป็นวัดพม่าที่ใหญ่ที่สุดในบรรดาวัดพม่าที่มีอยู่ในประเทศไทยทั้งหมด 31 วัด สร้างในปี พ.ศ. 2433 โดยคหบดีพม่าชื่อ อูโย ซึ่งติดตามชาวอังกฤษเข้ามาทำงานป่าไม้ในประเทศไทย เมื่อตนเองมีฐานะดีขึ้น จึงต้องการทำบุญโดยสร้างวัดศรีชุมขึ้นในเขตตำบลสวนดอก
จุดเด่นของวัดนี้เดิมอยู่ที่พระวิหาร ซึ่งเป็นอาคารครึ่งตึกครึ่งไม้ที่มีศิลปะการตกแต่ง แบบล้านนาและพม่า หลังคาเครื่องไม้ยอดแหลมแกะสลักเป็นลวดลายสวยงามมาก แต่เป็นที่น่าเสียดายว่าได้เกิดเหตุเพลิงไหม้พระวิหารทั้งหลัง เมื่อตอนเช้าตรู่ของวันที่ 16 มกราคม 2535 คงเหลือเพียงไม้แกะสลักตรงซุ้มประตูทางขึ้นวิหารเท่านั้น เป็นลวดลายพรรณพฤกษา ฉลุโปร่ง ปัจจุบันวัดได้รับการบูรณะขึ้นใหม่และยังมีชิ้นส่วนเครื่องประดับอาคารที่ถูกไฟไหม้ ไปจัดแสดงไว้ ้ด้านหลังวิหาร วัดศรีชุมได้รับการจดทะเบียนเป็นโบราณสถานเมื่อปี พ.ศ. 2524
การเดินทาง
วัดศรีชุมตั้งอยู่ที่ ถนนศรีชุม-แม่วะ ตำบลศรีชุม จากถนนพหลโยธินเมื่อถึงโรงเรียนบุญวาทย์ วิทยาลัยแล้ว เลี้ยวซ้ายตรงสี่แยกเข้าถนนศรีชุมไปประมาณ 100 เมตร จะพบทางเข้าวัด อยู่ทางด้านขวามือ
วัดศรีรองเมือง
วัดศรีรองเมือง เป็นวัดพม่าที่มีรูปแบบทางสถาปัตย์กรรม และงานศิลปะต่างๆ แตกต่าง จากวัดทั่ว ๆ ไป วัดนี้กำเนิดในดินแดนที่เมื่อก่อนเต็มไปด้วยป่าสัก และเป็นไม้สักที่ขึ้น ตามธรรมชาติ สร้างในสมัยรัชกาลที่ 5 จนถึงปัจจุบันมีอายุราว 103 ปี สร้างโดยช่างฝีมือจาก พม่าล้วนๆ ซึ่งบางส่วนของจั่วหลังคาได้ถอดแบบมาจากปราสาท เมืองมัณฑเลย์ ประเทศพม่า ก่อสร้างด้วยไม้แบบยกพื้น เรียกว่า วิหารไม ้ มีหลังคาจั่วซ้อนกัน เป็นชั้น ๆ แบบพม่า ประดับด้วยลวดลายโลหะฉลุเป็นเชิงชายเพดาน เสาไม้ในวิหารประดับเป็นลวดลายแกะสลัก ลงรักปิดทอง และติดกระจกสี ซึ่งทำให้ดูเป็นแสงแวววับ ภายในวิหารมีพระพุทธรูปไม้สักองค์ใหญ่ แบบศิลปะพม่า ชื่อว่า พระพุทธรูปบัวเข็ม แกะสลักจากไม้สักขนาดใหญ่ที่ไหลมาตามแม่น้ำวัง และมาติดอยู่ท่าน้ำด้านหลังวัด จึงนำขึ้นมาเก็บรักษาไว้ที่วัด เมื่อข่าวกระจายออกไป ชาวบ้านก็แห่กันมา กราบใหว้บูชา สะดุดตาต่อผู้พบเห็น
จุดเด่นภายในวิหารวัดศรีรองเมือง ได้แก่ลวดลายต่างๆที่ประดับไปด้วยกระจกสี ซึ่งตอนที่สร้างเสร็จใหม่ๆ จะเห็นประกายแวววับได้ชัดเจนกว่านี้มาก นอกจากนี้เสารูปทรงกลม และเพดานมีการสลักลายเป็นรูปต่าง ๆ อย่างสวยงาม เป็นงานศิลปกรรมแบบพม่าแท้ ๆ ทั้ง วิหารไม้ หลังคาจั่วมีลายฉลุ การแกะสลักพระพุทธรูปไม้ และลวดลายต่างๆภายในวัด มีความวิจิตร เป็นอันมาก
การเดินทาง
ตั้งหลักที่ห้าแยกหอนาฬิกาแล้วขับรถไปตามเส้นทางที่ออกไปท่าคราวน้อย ต.สบตุ๋ย ในทิศทางเดียวกับไปตลาดอัศวิน ประมาณ 2 กิโลเมตรก็ถึงวัด สังเกตฝั่งตรงข้าม จะเป็นวิทยาลัยเทคนิคลำปาง
วัดปงสนุก
"วัดปงสนุก" แห่งเขลางค์นคร ธรรมสถานหนึ่งเดียวของไทย ที่พึ่งได้รับรางวัล "Award of Merit” จาก UNESCO ในปี 2008 เผยเส้นทางการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม-สถาปัตยกรรมเก่าแก่ ที่เหลืออยู่เพียงแห่งเดียวในประเทศ จากชุมชน-รัฐ
วัดปงสนุก มีชื่อเรียกอยู่หลายชื่อ ได้แก่ วัดศรีจอมไคล วัดเชียงภูมิ วัดพะเยา ตามลำดับ ส่วนคำว่า "วัดปงสนุก" นั้นใช้เมื่อยุค เก็บผักใส่ซ้า เก็บข้าใส่เมือง ที่มีการกวาดต้อนผู้คน จากเชียงแสน สันนิษฐานว่า เป็นกลุ่มคนจากบ้านปงสนุกที่เชียงแสน (ปัจจุบันยังปรากฏ หลักฐานวัดปงสนุกอยู่ที่ริมแม่น้ำโขง อ.เชียงแสน จ.เชียงราย)
วัดปงสนุกได้รับการสันนิษฐานว่า เคยเป็นศูนย์กลางเมืองนคร (หรือเวียงละกอน) สมัยล้านนารุ่งเรือง และมีบทบาทสำคัญในหน้าประวัติศาสตร์ เช่น การดำน้ำชิงเมือง ระหว่างเจ้าฟ้าชายแก้ว และท้าวลิ้นก่าน และในยุครัตนโกสินทร์ที่แห่งนี้ ยังเคยเป็นที่ตั้งของ เสาหลักเมืองหลักแรกของเมืองนครลำปาง ก่อนจะทำการย้ายไปรวมกับเสาหลักเมือง หลักอื่นที่ ศาลหลักเมืองในปัจจุบัน
วัดปงสนุกเป็นแหล่งรวมของสิ่งสำคัญหลายอย่างที่ทรงคุณค่าทางด้านศิลปวัฒนธรรม สถาปัตยกรรม มากมาย อาทิ พระพุทธรูปไม้ เสาหงส์ ซุ้มประตูโขง ภาพพระบฎ เขียนเรื่องพระเวสสันดรบนผ้าและกระดาษสา หีบธรรมโบราณ และธงช้างเผือกขนาดใหญ่ ในสมัยรัชกาลที่ 6 ซึ่งทางวัดได้นำมารวมไว้เป็นพิพิธภัณฑ์งานศิลปสถาปัตยกรรมที่สำคัญ อันปรากฏอยู่ที่วัดนี้ได้แก่ พระธาตุศรีจอมไคล และวิหารพระเจ้าพันองค์ ซึ่งในอาคารหลัง จะได้รับการบูรณะอย่างถูกหลักวิชาการ โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนบ้านปงสนุก
จำนวนบ้านพัก 10 หลัง , 20 ห้อง (พักได้ 60-70 ท่าน)
ราคา 700-2,500 บาท รวมอาหารเช้า
บริการแพกเกจล่องแพฯ (รวมที่พักบนเกาะและอาหาร)
ราคาเริ่มต้นท่านละ 850 บาท
สำนักงานจอง 91 ตรอกโรงไฟฟ้าเก่า ถ.มนตรี ต.สบตุ๋ย อ.เมือง ลำปาง 52100
Tel. 054-223733 Fax. 054-228212
089-8541293 (คุณธนา), 081-2899898, 054-325645, 081-9983085
มีห้องประชุม คอฟฟี่ชอพ Coffee shop คาราโอเกะ KARAOKE สระว่ายน้ำ
จำนวนห้องพัก 225 ห้อง
ราคา 850-3,200 บาท
ที่อยู่ 138/109 ถ.พหลโยธิน ต.สวนดอก อ.เมือง ลำปาง
Tel. 054-225801-2, 224120, 223258
ห้องประชุม ผับ สนุกเกอร์ ร้านอาหาร
จำนวนห้องพัก 100 ห้อง
ราคา 900-2,500 บาท
ที่อยู่ 138/38 ถ.พหลโยธิน ต.สวนดอก อ.เมือง ลำปาง
Tel. 054-224470, 228095-6,316430-5
4. โรงแรมลำปางริเวอร์ลอดจ์ LAMPANG RIVER LODGE HOTEL
ห้องประชุม คอฟฟี่ชอบ Coffee shop นวดแผนโบราณ สระว่ายน้ำ
จำนวนห้องพัก 60 ห้อง
ราคา 2,200-3,400 บาท
ที่อยู่ 330 ถ.ลำปางกลาง หมู่บ้านลำปาง กลาง ต.ชมพู อ.เมือง ลำปาง
Tel. 054-336640-1
5. โรงแรมเอเซียลำปาง ASIA LAMPANG
มีห้องประชุม คอฟฟี่ชอพ Coffee shop
จำนวนห้องพัก 71 ห้อง
ราคา 490-700 บาท
ที่อยู่ 229 ถ.บุญวาทย์ ต.สวนดอก อ.เมือง ลำปาง
Tel. 054-227844-7
6. บ้านอคัมญ์สิริ (ที่พักและร้านอาหาร) Akhamsiri home
ห้องประชุม ห้องอาหาร นวดแผนโบราณ
จำนวนห้องพัก 14 ห้อง
ราคา 450 บาท/วัน 3,500 บาท/เดือน
ที่อยู่ 54/1 ถ.ป่าไม้เขต ต.เวียงเหนือ อ.เมือง ลำปาง
Tel. 054-228791, 081-8837989
7. รีสอร์ทธารารินลำปาง Thararin mountain ville
จำนวนบ้านพัก 8 หลัง
ราคา 1,200-2,000 บาท
ที่อยู่ 353 ม.11 ถ.ทางเข้าอุทยานแจ้ซ้อน ต.แจ้ซ้อน อ.เมืองปาน ลำปาง 52240
Tel. 081-9355663
8. โรงแรมร่มศรีทอง ROMSRITHONG
จำนวนห้องพัก 31 ห้อง
ราคา 200-500 บาท
ที่อยู่ 142 ถ.บุญวาทย์ ต.สวนดอก อ.เมือง ลำปาง
Tel. 054-217054
9. เอ็ม.ซี อพาร์ทเมนท์ M.C. Apartment Lampang.
แอร์, เคเบิลทีวีทีวี, เครื่องทำน้ำอุ่น, โทรศัพท์ภายใน, internet ความเร็วสูง ADSL
จำนวนห้องพัก 22 ห้อง
ราคา รายวัน 390 บาท/วัน รายเดือน 3,700 บาท/เดือน
ที่อยู่ 296 ถ.วังขวา ต.สบตุ๋ย อ.เมือง จ.ลำปาง 52000
Tel. 054-224678, 054-217339, 054-217788, 089-1915697,
086-6540296
10. วิลล่ารัษฎา นครลำปาง
เปิดให้จองผ่าน Booking.com มาตั้งแต่ 7 ม.ค. 2015. สิ่งอำนวย
ที่จอดรถฟรี. รวมบริการอินเทอร์เน็ตไร้สาย (Wi-Fi) ฟรี.
35 ถนนเจริญประเทศ เวียงเหนือ เมืองลำปาง ลำปาง 52100
รายละเอียดการจองผ่าน web site
https://www.choowap.com/th/hotel/villa-rassada-nakorn-lampang
เส้นทางการเดินทาง
บริษัท วิริยะทัวร์ กรุงเทพฯ โทร. 0 2936 2827 สาขา ลำปาง โทร. 0 5421 7373
บริษัท นิววิริยะทัวร์ กรุงเทพฯ โทร. 0 2936 2205-6 ลำปาง โทร. 0 5422 5899
บริษัท สมบัติทัวร์ โทร. 0 2936 2495-6
บริษัท อินทรา โทร. 0 2936 2492-3
บริษัท ทันจิตต์ทัวร์ โทร. 0 2936 3213-4
บริษัท พรพิริยะทัวร์ กรุงเทพฯ 0 2936 2939, 0 2936 3554 ลำปาง โทร. 0 5422 8706, 0 5421 8199
จากสถานีขนส่งลำปางที่ถนนพหลโยธินมีรถโดยสารธรรมดาและปรับอากาศไปยัง จังหวัดเชียงราย แพร่ นครสวรรค์ และน่าน นอกจากนี้ยังมีรถจากเชียงใหม่วิ่งผ่านลำปาง ไปยังจังหวัดในภาคเหนือ เช่น แพร่ พิษณุโลก แม่สาย แม่สอด และบางจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น ขอนแก่น อุดรธานี อุบลราชธานี นครราชสีมา เป็นต้น
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สถานีขนส่งลำปาง โทร. 0 5422 7410
ท่าอากาศยานลำปาง 0 5482 1508-14
สายการบินบางกอกแอร์เวย์ส ( Bangkok airways)
เที่ยวบินใหม่ ลำปาง-กรุงเทพฯ
(เริ่ม ก.พ. 53)
ลำปาง - กรุงเทพฯ : PG 212 09.55 --> 12.20
กรุงเทพฯ - ลำปาง : PG 211 07.05 --> 09.25
(ผ่านสุโขทัยทั้งไป-กลับ)
ราคาเริ่มต้นที่ 2,405 บาท - 3,340 บาท
สำรองที่นั่ง ติดต่อตัวแทนจำหน่าย โทร. 0 5482 1522 หรือ โทร. 1771 บางกอกแอร์เวย์ส www.bangkokair.com Asia's Boutique airline
สนามบินสุวรรณภูมิ โทร. 0 2326 8000, 0 2134 7924
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท) TAT call Center |
0 5422 6919, 0 5431 2254 1672, 0 5324 8604-5 |
ศูนย์ข้อมูลท่องเที่ยว อบจ.ลำปาง | 0 5423 7600 |
ศูนย์บริการการท่องเที่ยวเทศบาลนครลำปาง | 0 5421 9211-7 ต่อ 297 , 0 5421 9300 |
สมาคมท่องเที่ยวจังหวัดลำปาง | 0 5423 7252 |
สถานีตำรวจภูธร (Police station) | 0 5422 3339, 0 5421 7017 |
ตำรวจทางหลวง (Highway police) | 1193 |
กรมทางหลวง | 1586 |
สถานีรถไฟนครลำปาง (Railway station) | 0 5431 8648, 0 5421 7024 |
สถานีขนส่ง (Bus station) | 0 5422 7410 |
ท่าอากาศยาน (Lampang Airport) | 0 5482 1505-8 |
บางกอกแอร์เวย์ส (ฺBangkok Airways) Asia's Butique Airline | 1771 |
สภาวัฒนธรรมจังหวัดลำปาง | 0 05422 8862, 0 5422 8763 |
พัฒนาการจังหวัดลำปาง | 0 5426 5055, 0 5435 1054 |
สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 13 สาขาลำปาง | 0 5422 7107, 0 5422 7177 |
ประชาสัมพันธ์จังหวัด | 0 5426 5061 |
หอการค้าจังหวัดลำปาง | 0 5426 5078 |
สมาคมเครื่องปั้นดินเผาลำปาง | 0 5422 6300 |
สมาคมรถม้าลำปาง | 0 5421 9255, 0 5422 4166, 0 5422 5555, 08 1881 2847 |
ชมรมรักษ์สมุนไพรลำปาง | 0 5431 3128 |
สภาอุตสาหกรรมจังหวัดลำปาง | 0 5426 5079 |
Helpful Number | |
สายด่วนท่องเที่ยว (Tourist hotline) | 1155 |
เหตุด่วน เหตุร้าย (Emergency call Police) | 191 |
ดับเพลิง (Fire station) | 199 |
ไฟฟ้าขัดข้อง (Electric) | 1129 |
โทรศัพท์ขัดข้อง (Telephone) | 1177 ตามด้วยเลขหมายที่ขัดข้อง |
ประปาขัดข้อง (water main) | 0 5421 7157 |
สายด่วน อย. (Food and drug) | 1556 |
สายด่วนสุขภาพจิต (Health) | 1667 |
สายด่วนคุ้มครองผู้บริโภค | 1569 หรือโทร 054-265014 |
อุบัติเหตุฉุกเฉิน/ผู้บาดเจ็บห้องฉุกเฉิน รพ. (Accidental Report) | 1669 |
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อวัตถุประสงค์ในการปรับปรุงประสบการณ์ของผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น ท่านสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับประเภทของคุกกี้ที่เราจัดเก็บ เหตุผลในการใช้คุกกี้ และวิธีการตั้งค่าคุกกี้ได้ใน นโยบายคุกกี้ และ คำแถลงว่าด้วยการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล